วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันนี้!! เว็บงานพาสทามขอแนะนำเรื่อง 3 โรคที่มากับฝน


วันนี้!! เว็บงานพาสทามขอแนะนำเรื่อง 3 โรคที่มากับฝน 

ฤดูฝนกลับมาเยือนอีกครั้งขอให้ท่านผู้อ่านระวังรักษาสุขภาพของตนและคนในครอบครัวให้มากขึ้น โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็ก และมีผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพเพราะเจ็บป่วยได้ง่าย ฉบับนี้จึงขอกล่าวถึงโรคที่มากับฤดูฝนที่เป็นกันส่วนใหญ่   

                โรคไข้หวัดใหญ่  โรคนี้มักระบาดในฤดูฝนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ เสี่ยงเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย สาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ติดต่อโดยการไอจามรดกัน และสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่จะมีอาการหนาวสั่น มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออก แสบตา น้ำตาไหล เจ็บคอ ดังนั้นผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่จึงควรได้รับการพักผ่อนให้เพียงพอ ลดกิจกรรมต่างๆลง ดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ส่วนการป้องกัน คนในครอบครัวควรหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของต่างๆ ร่วมกับผู้ป่วย ล้างมือทุกครั้งที่ปิดปากหรือ จมูกจากการไอ หรือจาม รับประทานผักผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูง
                โรคไข้เลือดออก เป็นอีกโรคหนึ่งที่ระบาดในหน้าฝนเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก อาการของโรคจะมีไข้สูงลอยอยู่ประมาณ 2-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ส่วนใหญ่จะมีอาการหน้าแดง มีจุดแดงตามลำตัว แขน ขา บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหาร ฉะนั้นการดูแลผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกจึงควรให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ที่มีอาการถ่ายเทได้สะดวก คอยเช็ดตัวอย่างน้อยนาน 15 นาที รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อยจิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ และพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจเลือด ส่วนการป้องกันต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด กำจัดยุงลาย
                โรคเชื้อราที่เท้าหรือน้ำกัดเท้า เป็นโรคที่ก่อความรำคาญในหน้าฝนเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่พบในผู้ชายที่ต้องสวมรองเท้าทำงานทั้งวัน ทำให้เกิดความอับชื้น หรือต้องลุยเท้าไปตามสถานที่ที่มีน้ำท่วมขังและน้ำสกปรก ซึ่งผู้ที่เป็นโรคน้ำกัดเท้านั้นจะมีอาการผื่นขาวยุ่ยที่ง่ามเท้า ตุ่มน้ำพองที่ฝ่าเท้า หรือฝ่าเท้าแดงมากเป็นขุย อาจมีโรคกลากของเล็บเท้าร่วมด้วย การรักษาแพทย์มักให้ยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทานและทาร่วมด้วย ใช้เวลา 6-8 สัปดาห์ ดังนั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อควรหลีกเลี่ยงการส่วมใส่รองเท้าถุงเท้าร่วมกัน หรือใช้ห้องน้ำร่วมกัน


บทความโดย น.พ.นริศ ฉันท์เรืองวณิชย์